บทความ

เราควรเลือกเจลแอลกอฮอล์ล้างมืออย่างไรดี

รูปภาพ
ช่วงนี้สถานการณ์โรค Covid-19 กำลังแพร่ระบาดระลอกใหม่อีกครั้ง...ในท้องตลอดมีเจลล้างมือหลากหลายยี่ห้อให้เลือกใช้ วันนี้เราจะมาดูกันค่ะว่าเราควรเลือกเจลแอลกอฮอล์ล้างมืออย่างไรดี 🧐  โดยทั่วไปแล้วแอลกอฮอล์มีอยู่ 2 ประเภท คือ  1) เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol)  2) เมทิลแอลกอฮอล์ (Methyl alcohol)         โดยชนิดที่ใช้สัมผัสผิวหนังได้คือชนิดเอทิลแอลกอฮอล์เท่านั้น หากเจลล้างมือที่ใช้มีเมทิลแอลกอฮอล์จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะผ่านการสัมผัส สูดดม หรือรับประทาน ทำให้เกิดพิษต่อตา ตาพร่า มัว หรือตาบอด ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ภาวะเลือดเป็นกรดซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ ☠️ ดังนั้นการเลือกซื้อเจลล้างมือผสมแอลกอฮอล์ ควรเลือกโดยพิจารณาจาก ...  🧐 1. ระวังการปนเปื้อนเมทิลแอลกอฮอล์ ยี่ห้อไหนมีเมทิลแอลกอฮอล์ปนเปื้อนเช็คได้จากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/detail/media_news/1852) 2. ปริมาณแอลกอฮอล์ต้องมากกว่า 70% บางยี่ห้ออาจมีปริมาณแอลกอฮอล์ไม่ถึง 70% สามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่โดนถอนออกได้ทางเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการ

Androgenetic Alopecia (AGA) - ภาวะผมบางจากพันธุกรรม

รูปภาพ
  Androgenetic Alopecia (AGA) คือ ภาวะผมบางจากพันธุกรรม เกิดได้ทั้งชายและหญิง เป็นภาวะผมบางชนิดไม่มีแผลเป็น ลักษณะทั่วไป - ผมมีขนาดเส้นที่เล็กลง - ผมบางลงในบางบริเวณของหนังศีรษะ ลักษณะผมบางแตกต่างกันตามเพศ ชาย - ตีนผมด้านหน้าร่นขึ้นเป็นรูปตัว M - ผมบางตรงกลางเป็นไข่ดาว - ผมบางตั้งแต่ด้านหน้าลามไปถึงกลางศีรษะ หญิง - ผมบางทั่วๆบริเวณกลางศีรษะ - ผมบางบริเวณกลางศีรษะร่วมกับตีนผมด้านหน้าบางด้วย การรักษา - ยาทา เช่น minoxidil - ยารับประทาน เช่น finasteride และ spironolactone - เลเซอร์/แสงความเข้มต่ำ (low-level laser/light therapy) - ศัลยกรรมปลูกผม ผู้ที่กังวลเกี่ยวกับภาวะผมบางจากพันธุกรรมแนะนำพบแพทย์ผิวหนังเพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องตามความรุนแรงของแต่ละบุคคล นพ.ฉันทลักษณ์ หมื่นณรงค์ อ.พญ.อาภากร เหล่าชุนสุวรรณ อ.พญ.ศรัญญา คุณเขต References Blume-Peytavi U, Kanti V. Androgenetic Alopecia. In: Kang S, Amagai M, Bruckner AL, Enk AH, Margolis DJ, McMichael AJ, Orringer JS. Fitzpatrick’s Dermatology. 9th ed. New York, McGraw-Hill Education; 2019. p. 1495-506. Marks DH,  Senna MM. Androgene

สาระน่ารู้ : เล็บของคุณเป็นอย่างไร

รูปภาพ
สาระน่ารู้ : เล็บของคุณเป็นอย่างไร เล็บสุขภาพดี เล็บเรียบเป็นเงา ไม่มีริ้วหรือจุดตะปุ่มตะป่ำ ไม่มีขุย โปร่งแสง สีสม่ำเสมอ เล็บแยกชั้น (Onychoschizia) คือ เล็บที่ปลายเล็บแยกออกเป็นชั้น ปลายเล็บมักจะเเห้งเเละบาง มักเกิดกับเล็บมือ สาเหตุมักเกิดจากการสัมผัสน้ำบ่อยๆ การสัมผัสสารเคมีจากทั้งการทำเล็บหรือจากอาชีพ ทำให้เกิดการสูญเสียของส่วนประกอบที่เป็นโปรตีนเเละไขมันออกไป เล็บเป็นริ้วๆ (Onychorrhexis) เล็บมีเส้นริ้วๆ จากการที่เปราะหรือเเตกตามเเนวยาวของเล็บ สาเหตุที่พบบ่อยอาจเกิดจากเล็บที่เปราะตามอายุที่มากขึ้น การสัมผัสสารเคมีที่เป็นกรด ด่าง นอกจากนี้อาจเกิดจากภาวะในร่างกาย เช่นโรคไทรอยด์ หรือกลุ่มโรคทางผิวหนังบางชนิด เล็บร่อน (Onycholysis)  คือ การเเยกของเล็บออกจากฐานของเล็บ หรือเรียกอีกอย่างว่า เล็บร่อน สาเหตุที่พบได้บ่อยๆ คือ การถูกกระทบกระเเทกที่เล็บ การงัดแงะทำให้เล็บแยกออกจากฐานเล็บ หรืออาจพบร่วมกับกลุ่มโรคผิวหนังและเนื้องอกที่เล็บบางชนิด เช่น โรคสะเก็ดเงิน, lichen planus เป็นต้น เเละบางครั้งเมื่อมีช่องว่างเกิดขึ้นอาจพบการติดเชื้อของเล็บร่วมด้วย  เล็บหนา (Nail thickening) การหนาขึ้นของชั

รอยดำคล้ำใต้ตา

รูปภาพ
ปัญหารอยดำคล้ำใต้ตา  สาวๆหลายคนคงมีปัญหานี้กันใช่ไหมคะ วันนี้เเอดมินมีข้อมูลเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ สาเหตุ 1. อายุที่เพิ่มมากขึ้น -ทำให้ผิวหนังบริเวณใต้ตาที่บางลง จึงเห็นเส้นเลือดที่อยู่ใต้ผิวชัดเจนขึ้น -ชั้นไขมันใต้ผิวเเละกระดูกบริเวณใบหน้าฝ่อลง(volumn loss) , คอลลาเจนใต้ผิวลดน้อยลง ส่งผลทำให้ผิวหนังใต้ตาหย่อนคล้อย เเละเกิดร่องน้ำตา ทำให้เกิดเงาดำใต้ตาได้ 2. โรคภูมิเเพ้ -ทำให้เกิดรอยดำหลังการอักเสบบริเวณใต้ตา - บางครั้งอาจมองเห็นเป็นสีม่วงบริเวณใต้ตาได้ 3. การเกาหรือถูบริเวณใต้ตาบ่อยๆ เกิดการช้ำและอักเสบและรอยดำตามมา 4. การได้รับยาบางชนิดที่มีผลให้ผิวคล้ำขึ้น เช่น ยาคุมกำเนิด, ยาหยอดตารักษาต้อหินกลุ่ม ophthalmic prostraglandin เป็นต้น 5. โรคเม็ดสีผิดปกติบริเวณใต้ตาที่มีมาเเต่กำเนิด เช่น ปานโอตะ (Nevus if ota) 6. โรคผิวหนังบางชนิดที่ทำให้เกิดความผิดปกติของเม็ดสี หรรือ การเเพ้ยาบางชนิด 7. กรรมพันธุ์ การรักษา 1. การรักษาเฉพาะหน้าสามารถใช้เครื่องสำอางช่วยปกปิดรอยดำกลุ่มConcealers ต่างๆ 2.กลุ่มยาทา -ยาทากลุ่มวิตามินA(Retinoid, Retinol) ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน , ลดเม็ดสี -ยาทากลุ่มที่ช

สารฆ่าเชื้อ (ทำความสะอาดสิ่งของและบ้านเรือน) Covid-19

รูปภาพ
จากสถานการณ์ระบาดของเชื้อ covid 19 ที่กำลังพบผู้ติดเชื้อมากขึ้นทั้งในไทยและต่างประเทศ เชื้อนี้สามารถติดต่อผ่านคนสู่คนภายในระยะ 6 ฟุตได้ โดยผ่านทางละอองฝอย (droplets) จากสารคัดหลั่ง เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยอาจไม่แสดงอาการได้นานถึง 14 วัน เชื้อยังสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อม วัตถุต่างๆ รอบตัวเราได้ เมื่อมือเราจับสิ่งเหล่านั้นแล้วมาสัมผัสตา จมูก หรือปากเรา ก็สามารถทำให้ติดเชื้อได้ แอดมินจึงนำความรู้เรื่องสารฆ่าเชื้อ (บนพื้นผิวสิ่งของรอบตัว) มาฝากไว้เพื่อป้องกันตัวเองกันค่ะ 1. 0.05%-0.5% sodium hypochlorite คือ สารที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ซักผ้าขาวไฮเตอร์ (ไม่ใช่ไฮเตอร์คัลเลอร์ชนิดน้ำ) ทำง่ายๆ คือ นำมาผสม 3 ฝาต่อน้ำ 5 ลิตร (ได้ความเข้มข้น 0.1%)        2. 0.12% chloroxylenol คือ สารที่อยู่ใน Dettol รุ่น antiseptic (รุ่นมงกุฎฟ้า) ควรนำมาเจือจางในอัตราส่วน 1:39 (น้ำยา 1 ส่วนผสมน้ำ 39 ส่วน)      3. 70% ethyl alcohol คือ แอลกอฮอล์ที่นำมาใช้ล้างแผล สามารถนำมาใช้ทำความสะอาดได้เลย ไม่ควรเจือจาง      4. 0.5 hydrogen peroxideคือ สารที่ใช้ในการล้างแผล และ ผลิตภัณฑ์ซักผ้าไฮเตอร์คัลเลอร์ชนิดน้ำ วิธีใช้ -

เชื้อไวรัส COVID19 นั้นสามารถมีชีวิตอยู่ในอากาศ/สิ่งของรอบตัวเราได้นานแค่ไหน

รูปภาพ
เชื้อไวรัส COVID19  นั้นสามารถมีชีวิตอยู่ในอากาศ/สิ่งของรอบตัวเราได้นานแค่ไหน  ทราบกันหรือไม่ว่า เชื้อไวรัส COVID19 นั้นสามารถมีชีวิตอยู่ในอากาศ/สิ่งของรอบตัวเราได้นานแค่ไหน  แอดมินนำผลจากงานวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับการคงอยู่ของเชื้อไวรัส COVID-19ในอากาศและบนพื้นผิวมาอัพเดทกันค่ะ โดยการทดลองนี้ได้ทดสอบไวรัสCOVID19 ในรูปแบบของละอองฝอยขนาดเล็กในอากาศ (aerosol < 5 um) และบนพื้นผิวต่างๆ ที่อุณหภูมิ 21-23 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 40% พบว่าเชื้อไวรัส COVID19 อยู่ในอากาศได้นานอย่างน้อย 3 ชั่วโมง (ระยะเวลาที่ทำการทดลองคือ 3 ชั่วโมง และ พบมีเชื้อคงอยู่ในอากาศตลอดระยะเวลาทั้งหมดของการทดลอง) อยู่บนพื้นผิวโลหะทองแดง (copper) ได้นาน 4 ชั่วโมง อยู่บนพื้นผิวกระดาษลูกฟูก (cardboard) ได้นาน 1 วัน อยู่บนพื้นผิวสเตนเลส (stainless steel) ได้นาน 2 วัน อยู่บนพื้นผิวพลาสติก (plastic) ได้นาน 3 วัน จะเห็นได้ว่าสามารถพบเชื้อไวรัสCOVID19 นี้อยู่ในอากาศหรือตามพื้นผิวต่างๆได้นาน (ทั้งนี้ขึ้นกับปัจจัยในสิ่งแวดล้อม เช่น ความร้อน หรือ ความชื้น ด้วย) ซึ่งนี่อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการระบาดข

การกิน Vitamin C มีประโยชน์อย่างไร สามารถช่วยลดโอกาสติดเชื้อไวรัสได้หรือไม่ ?

รูปภาพ
หลายคนอาจสงสัยว่าการกิน Vitamin C มีประโยชน์อย่างไร สามารถช่วยลดโอกาสติดเชื้อไวรัสได้หรือไม่ ? Vitamin C หรือ Ascorbic acid เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เอง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญของร่างกาย ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และยังมีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างคอลลาเจนในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆอีกด้วย ปริมาณ Vitamin C ที่ร่างกายคนปกติต้องการในแต่ละวัน คือ 75-90 มิลลิกรัมต่อวัน มีการศึกษาพบว่าการได้รับ Vitamin C ในขนาด 1-2 กรัมต่อวัน สามารถช่วยลดระยะเวลาและความรุนแรงของโรคหวัดได้ ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษายืนยันแน่ชัดว่า การได้รับ Vitamin C ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบกินหรือฉีด สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ได้หรือไม่ เนื่องจากเชื้อนี้เป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่ จึงยังไม่มีการศึกษาที่เพียงพอ แต่มีรายงานการใช้ Vitamin C เสริม ในการรักษาคนไข้ปอดอักเสบร่วมกับการรักษามาตรฐานแล้วได้ผลดี แต่การได้รับวิตามินซีมากเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วในไต รู้อย่างนี้แล้ว แอดมินแนะนำให้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ กินผักผลไม้ เพื่อให