ผื่นผิวหนังอักเสบจากการแพ้สัมผัสบริเวณใบหน้า





หลายๆคนคงเคยประสบปัญหาเกี่ยวกับผื่นแพ้ที่ใบหน้ากันค่ะ วันนี้แอดจึงเอาความรู้เกี่ยวกับผื่นแพ้สัมผัสบริเวณใบหน้ามาฝากกันค่ะ

ผื่นผิวหนังอักเสบจากการแพ้สัมผัสบริเวณใบหน้า
ผื่นผิวหนังอักเสบจากการแพ้สัมผัส คือ ภาวะที่ผิวหนังเกิดปฏิกิริยาต่อสารเคมีที่มาสัมผัสใบหน้า ทำให้เกิดการแพ้หรือการระคายเคือง นำไปสู่ภาวะผื่นแดงบนใบหน้าหลังใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆได้
พบได้ทุกช่วงอายุ มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมักใช้ผลิตภัณฑ์ความงามต่างๆมากกว่าผู้ชาย

สาเหตุของผื่นแพ้อักเสบแบ่งเป็น
1. จากปฏิกริยาการแพ้ ซึ่งทำให้เกิดผื่นแพ้สัมผัส ( allergic contact dermatitis)
2.จากการระคายเคืองต่อสารเคมี ทำให้เกิดผื่นระคายเคือง iriitant contact dermatitis


ผื่นแพ้สัมผัส ( allergic contact dermatitis)

- สารที่ก่อให้เกิดการแพ้สัมผัสบริเวณใบหน้าที่พบได้บ่อย ได้แก่ น้ำหอม, สารกันเสีย เช่น methylchloroisothiazolinone, formaldehyde, paraben เป็นต้น ยาย้อมผมที่มีสาร PPD (p-phenylenediamine), และครีมที่มีสารลาโนลิน (lanolin) นอกจากนี้ ยางที่ผสมในฟองน้ำแต่งหน้า หรือโลหะในที่ดัดขนตา สามารถทำให้เกิดการแพ้ได้เช่นกัน
- การสัมผัสเกิดได้จากการทาโดยตรง หรือจากการระเหยก็ได้

- ผู้ที่มีอาการแพ้สัมผัสจะมีอาการบริเวณที่สัมผัสเป็นผื่น ตุ่มแดง หรือเป็นตุ่มน้ำเล็กๆ และมีอาการคันเป็นหลัก ซึ่งอาการมักเกิดหลังจากสัมผัสสารได้หลายวันถึงสัปดาห์

ผื่นจากการระคายเคือง (irritant contact dermatitis)
- สารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองบนใบหน้า เช่น สารที่มีคุณสมบัติเป็นกรดหรือด่าง ซึ่งพบได้ในยาที่ใช้รักษาสิว, ฝ้า, ริ้วรอย หรือพบได้ในสบู่ที่มีส่วนผสมของสาร SLS ( sodium lauryl sulfate) รวมถึงพิษของสัตว์บางชนิด เช่น แมลงก้นกระดก แมงกระพรุน เป็นต้น

- ผู้ที่มีอาการระคายเคืองจากการสัมผัสจะมีอาการบริเวณที่สัมผัสสารเป็นผื่นแดง แห้ง ลอกเป็นขุย หรือเป็นแผลมีน้ำเหลือง มักมีอาการแสบหรือเคืองได้ มักจะเกิดอาการหลังการสัมผัสสารได้หลายระยะ อาจเกิดทันทีไม่เกินชั่วโมง หรือหลังการสัมผัสสารนานเป็นสัปดาห์

การรักษา
-ทาสารให้ความชุ่มชื้นบริเวณใบหน้าสม่ำเสมอ ในรายที่มีอาการมากอาจให้ทายาสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบของผิวหนังได้
การป้องกัน
- การป้องกันที่ดีที่สุดคือการหยุดใช้และหลีกเลี่ยงสารที่สงสัย
- เลือกใช้ครีมที่เหมาะสมกับสภาพผิว ไม่เลือกครีมที่มีความเป็นกรดและด่างสูง
-หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอม และสารกันเสียเพราะแพ้ได้บ่อย และหมั่นทาครีมให้ความชุ่มชื้นแก่ใบหน้าเพื่อเสริมสร้างเกราะป้องกันให้แก่ผิวหน้า


ขอขอบคุณ



เนื้อหา นพ.พิพัฒน์พงศ์ เดชอุดม , อ.พญ.ศิลดา กนกรังษี
ภาพ นส.พิมพ์จุฑา พรบุญยรัตน์



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Androgenetic Alopecia (AGA) - ภาวะผมบางจากพันธุกรรม

สาระน่ารู้ : เล็บของคุณเป็นอย่างไร

เชื้อไวรัส COVID19 นั้นสามารถมีชีวิตอยู่ในอากาศ/สิ่งของรอบตัวเราได้นานแค่ไหน